WORKING WITH CONFLICT AND CHANGE

WORKING WITH CONFLICT AND CHANGE

ศิลปะการทำงานกับความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงอย่างไร้แรงต้าน

“We cannot solve our problems with the same thinking

we used when we created them.”

“เราไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ด้วยความคิดแบบเดียวกับที่เราสร้างปัญหานั้นขึ้นมา”

– อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ปัญหาในองค์กร

ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรจะคลี่คลายได้ ทุกคนในองค์กรต้องตระหนักรู้ว่า ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องในปัญหานั้น และตนเองก็มีโอกาสและพลังที่จะคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งให้ดีขึ้นได้ ที่ผ่านมาองค์กรส่วนใหญ่ เมื่อมีความขัดแย้ง มักจะใช้การอบรม เช่น Team Building หรือ แม้กระทั่ง Conflict Management เพื่อมาแก้ไขปัญหา แต่ในความเป็นจริง คนที่มาอบรมมักจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขปัญหาได้เป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้

คนที่ยังอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ยากที่จะเห็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

บ่อยครั้ง คนที่มาเรียนตกเป็นโจทย์อยู่ใน สถานการณ์ความขัดแย้งเสียเอง เมื่อกลับไปในองค์กรก็ยากที่จะแก้ปัญหานั้นๆที่ตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นกลางและตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ปมความขัดแย้งในองค์กร ส่วนใหญ่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าทักษะและความเข้าใจที่ได้รับจากการอบรมสั้นๆเพียง 2-3 วัน

หลักสูตร Conflict Management ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ผล เพราะเป็นเพียงการใช้เครื่องมือ เทคนิคเข้าไปจัดการ หรือบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนั่นไม่ได้แก้ที่สาเหตุอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้สอน ไม่ได้เข้าไปเห็นสถานการณ์จริงที่ขัดแย้งในองค์กร เพียงแต่ช่วยแนะนำทฤษฎี โจทย์สมมติ และแนวทางที่จะกลับไปประยุกต์ใช้เท่านั้น

การทำงานกับความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลง เป็นศิลปะที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการคลี่คลายความขัดแย้ง เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน ที่ต้องเริ่มจาก ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปรับฟัง วิเคราะห์ปัญหา จัดกระบวนการเรียนรู้ จัดวงพูดคุยเพื่อให้ผู้คนหันหน้าเข้าหากัน เปิดใจ และร่วมมือกันคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งให้ดีขึ้น

ทางออก

กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง

แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1: Conflict Diagnosis วินิจฉัยปัญหาความขัดแย้ง

ขั้นแรก ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นกลางเข้าไปวิเคราะห์ปัญหา ด้วยการรับฟังและสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อค้นหาที่มาในระดับรากเหง้า (root cause) ของปัญหาที่แท้จริง ว่ามาจากสาเหตุใดบ้าง ซึ่งในการประชุมทั่วไป ผู้คนมักจะไม่พูดถึงปัญหา แต่จะเก็บไว้ในใจ จนเกิดเป็นคลื่นใต้น้ำ จึงจะต้องมีกระบวนการให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจที่จะเล่าถึงประเด็นปัญหาลึกๆเหล่านั้น

ขั้นที่ 2: Process Design ออกแบบกระบวนการ

โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรและทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

ขั้น 3: Conflict Facilitation จัดกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง

เนื่องจากความขัดแย้งที่แท้จริงแล้วไม่สามารถจัดการด้วยการบริหารหรือควบคุมได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง (Conflict Facilitation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ในกระบวนการพูดคุย เพื่อทำความเข้าใจ เรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่าง และเปิดใจหาทางออกร่วมกัน โดยรูปแบบเวิร์คช็อปจะเป็นบรรยากาศที่สบาย ผ่อนคลาย เป็นกันเอง ไม่เครียดหรือซีเรียส …เราสามารถทำงานกับความขัดแย้งด้วยความสนุก และเรียนรู้ไปกับมัน

กระบวนการ

โปรแกรมเบื้องต้น เวิร์คชอป 2 วัน

โปรแกรมต่อเนื่อง เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน 3-6 เดือน

สนใจปรึกษาปัญหาองค์กร/หลักสูตรฝึกอบรม

ติดต่อ : โทร 083 008 5588

Contact@DOJOSpirit.co

www.dojospirit.co

สนใจปรึกษาปัญหาองค์กร/หลักสูตรฝึกอบรม

ติดต่อ : โทร 083 008 5588

Contact@DOJOSpirit.co

www.dojospirit.co

Print Friendly, PDF & Email