12 วิธีปฏิบัติเพื่อ "ฝึกสนทนาอย่างตื่นรู้"

แนวทางฝึกฝน เพื่อบ่มเพาะสติ ในการสนทนา ดั่งการปฏิบัติธรรม

.

  1. ฝึกพูดเท่าที่จำเป็น ลองสังเกตตัวเองดูว่า “พูดเพราะความอยาก หรือ เพราะโอกาสที่สมควร”

.

  1. รู้เท่าทันเสียงในหัว เช่น “ฉันรู้แล้ว” เพราะเมื่อไหร่ที่คิดว่า “รู้แล้ว” เราจะไม่ฟัง

.

  1. ปล่อยวางความคิด อดีต อนาคต วางใจอยู่กับปัจจุบันขณะ และใส่ใจคนที่อยู่ต่อหน้า

.

  1. ฝึกฟังให้ลึกถึง “เจตนา” ของผู้คน ทุกคำพูด ล้วนมี คุณค่า/ สิ่งที่แคร์ อยู่เบื้องหลังเสมอ

.

  1. ฝึกฟังให้จบ คำถามบางคำถามไม่จำเป็น ฟังต่ออีกหน่อย อาจจะเข้าใจเอง

.

  1. ฝึกอยู่กับความไม่รู้ ไม่จำเป็นที่ทุกอย่างต้องชัดเจนตลอดเวลา

.

  1. ฝึกอยู่กับความเงียบ บางทีในความเงียบ เราอาจเข้าใจและใกล้กันมากขึ้น

.

  1. เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าอีกฝ่ายพูดไม่เข้าหู และเราเริ่มไม่อยากฟัง นั่นคือโอกาสดีที่สะกิดให้เราเรียนรู้คุณค่าความเชื่อที่แตกต่างของผู้คน รวมถึงความยึดมั่นถือมั่นในตัวเราที่อาจมีไม่น้อยเหมือนกัน

.

  1. ไม่จำเป็นต้องให้คำแนะนำ หรือทางออกตลอด เพราะอีกฝ่ายอาจต้องการแค่การรับฟัง

.

  1. เมื่อไหร่ที่เต็มไปด้วยความโกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจ ลองฝึกที่จะไม่โต้กลับ แต่สังเกตอารมณ์เหล่านี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จนใจเป็นกลาง เหลือเพียงความปรารถนาดี เมื่อนั้นค่อยสื่อสารด้วยความกรุณา

.

  1. ไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่าย “ถูกตลอด” บางครั้งยอมผิดบ้าง เพื่อปล่อยวางตัวตน อาจดูเหมือนแพ้ (ทางโลก) แต่ชนะ (ทางธรรม)

.

  1. หาโอกาสปลีกวิเวก สันโดษผู้เดียวบ้าง แม้อยู่ท่ามกลางหมู่ชน สังเกตเสียงในหัวที่คุยกันตลอดเวลา และมีสติรู้ว่า “นั่นไม่ใช่เรา”

.

.

บทความโดย : โอม รัตนกาญจน์ 

www.dojospirit.co

.

สนใจปรึกษาปัญหาองค์กร/หลักสูตรพัฒนาผู้นำ

ติดต่อ : โทร 083 008 5588, 081 809 5525

Contact@DOJOSpirit.co

www.dojospirit.co

Print Friendly, PDF & Email