CONFLICT FACILITATION

องค์กรของคุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้ในหรือไม่?

  • เมื่อเกิดปัญหาในกระบวนการทำงานระหว่างส่วนงาน ต่างฝ่ายต่างปกป้องตัวเอง คุยกันไม่รู้เรื่อง ทำงานแบบงัดข้อ เหมือนมีกำแพงระหว่างกัน ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหาและความติดขัด
  • ในที่ประชุมเงียบ ไม่มีใครอยากพูดแม้ไม่เห็นด้วย แต่มักออกมาคุยกันนอกห้อง เกิดเป็นความขัดแย้ง คลื่นใต้น้ำ
  • ทีมงานขาดความเป็นหนึ่งเดียว มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกและการเมืองภายใน เกิดความติดขัดซ้ำๆ ไม่เกิดความร่วมไม้ร่วมมือที่แท้จริงในการทำงาน คนใหม่เข้ามาก็ถูกวัฒนธรรมองค์กรเก่ากลืนกิน

 

ATTITUDE ทัศนคติของผู้นำและคนส่วนใหญ่ในองค์กรมักกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง อาจเพราะเกรงว่าจะเสียความสัมพันธ์ ความรู้สึกที่ดีต่อกัน หรือไม่รู้วิธีในการรับมือ แต่แท้จริงแล้ว ในองค์กรยุคใหม่ ความขัดแย้งคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและเติบโตให้กับผู้คน

 

SKILLS & TOOLS ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานและผู้คนมากมาย การแก้ปัญหาโดยอาศัยทักษะการสื่อสารทั่วไป อาจไม่สามารถนำไปสู่การคลี่คลายหรือแก้ปัญหาได้ หากแต่ต้องอาศัยทักษะที่มีชั้นเชิงมากขึ้นในการรับมือกับบทสนทนาที่วิกฤตและอารมณ์รุนแรง การทำงานกับวาระซ่อนเร้น คลื่นใต้น้ำ การแบ่งพรรคแบ่งพวก / การเมืองในองค์กร ทั้งหมดนี้ ผู้นำยุคใหม่จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องเรียนรู้ทักษะและศิลปะการเป็นคนกลางหรือ Facilitator เช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening)เพื่อให้ได้ยินเจตนาหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้คนเบื้องหลังปัญหาและความขัดแย้ง การสร้างกระบวนการพูดคุยอย่างมีส่วนร่วม การให้คุณค่ากับทุกเสียง (Deep democracy) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้  (Awareness) ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

 

OUR WORKSHOP DESIGN การบริหารความขัดแย้งในที่ทำงานเป็นศิลปะและทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารและผู้นำองค์กรยุคใหม่ องค์กรโดยส่วนใหญ่อาจแก้ปัญหาโดยการทำ team building หรือการฝึกอบรมเรียนรู้เรื่อง Conflict management โดยคาดหวังว่า ผู้เรียนจะนำความรู้/แนวคิด กรณีศึกษาที่ได้เรียนกลับไปใช้กับทีมงานหรือกับองค์กรของตนเองได้ แต่ความเป็นจริง มักไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก

  1. คนแก้ปัญหาก็มักเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง: บุคคล / ทีมที่ได้รับหน้าที่ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความขัดแย้งนั้น มีส่วนได้ส่วนเสีย ยากที่จะขยับตัวคลี่คลายปมที่ตนเองก็มีส่วนเกี่ยวข้อง
  2. แก้ไม่ตรงจุด เพราะยังไม่พบรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหา: ความขัดแย้งในองค์กรส่วนใหญ่ มักมีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับหลายเหตุปัจจัย (เช่น โครงสร้างหรือกระบวนการทำงานที่เอื้อให้เกิดความไม่เท่าเทียม หรือการเติบโตก้าวหน้า/ผลประโยชน์ที่ไม่เท่ากัน) การรับมือแก้ปัญหาความขัดแย้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์วินิจฉัยอย่างเป็นระบบถึงรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหา
  3. ขาดคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความเชี่ยวชาญพอ: การเป็นคนกลาง หรือ facilitator ในการคลี่คลายความขัดแย้งเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ อย่างไรก็ดี การอบรมเพียงแค่ 2-3 วัน ที่องค์กรส่วนใหญ่มักส่งคนไปเรียน อาจไม่เพียงพอต่อการนำเอาไปใช้แก้ปัญหาได้จริง การคลี่คลายความขัดแย้งเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อน จึงควรได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จนมีประสบการณ์และความชำนาญพอ หรือหาคนกลางที่มีความเชี่ยวชาญมาช่วยไกล่เกลี่ย

 

DOJO Spirit ให้ความใส่ใจในการให้คำปรึกษา (Consulting) และออกแบบกระบวนการเรียนรู้/หลักสูตรอบรม เพื่อฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในการรับมือกับความขัดแย้งในองค์กร เราออกแบบให้ฝึกฝนทักษะไปพร้อมกับกระบวนการแก้ปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่ โดยเชื่อว่าการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาคือจุดเริ่มต้นที่ดีในการหาทางออกอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้ง ผู้คนในองค์กรจะสามารถพลิกความขัดแย้งให้เป็นโอกาสในการเติบโตหรือพัฒนาองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์

.

.

สนใจปรึกษาปัญหาองค์กร/หลักสูตรฝึกอบรม

ติดต่อ : โทร 083 008 5588

Contact@DojoSpirit.co

www.dojospirit.co  

Print Friendly, PDF & Email